วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ลักษณะทางกายวิภาคของไดโนเสาร์

 ลักษณะทางกายวิภาคของไดโนเสาร์ชนิดต่างๆในภาคอีสาน
1. ไดโนเสาร์ซีลูโรซอร์ (Coelurosaur)
2. ไดโนเสาร์สยามโมไทแรนนัส อีสานเอนซีส (Siamotyrannus isanensis)
3. ไดโนเสาร์ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรนี (Phuwiangosarus sirindhornae)
4. ไดโนเสาร์ สยามโมซอรัส สุธีธรนี (Siamosaurus suteethorni) 
5. ไดโนเสาร์ซิตตะโกซอรัส สัตยารักษ์กี (Psittacosaurus sattayaraki)
6. ไดโนเสาร์ อิกัวโนดอน (Iguanodon) 
7. ไดโนเสาร์คาร์โนซอร์ (Carnosaur)


  หน้าหลัก
  บทเรียน
  ไดโนเสาร์ในภาคอีสาน
  ลักษณะทางการวิภาคของ
    ไดโนเสาร์ชนิดต่างๆในภาค
     อิสาน
  กิจกรรมและคำถามท้ายบท
 
   หน่วยย่อยที่ 2 ลักษณะทางกายวิภาคของไดโนเสาร์

       การศึกษาซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ในประเทศไทย
      การกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์และซากของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดไม่ว่า
จะเป็นพืชหรือสัตว์ มักจะปรากฏอยู่ในหินชั้น หรือ หินตะกอน เกิดจากในช่วงเวลานั้นไดโนเสาร์ที่เสียชีวิต จะถูกทับถมด้วยตะกอนโคลนและทรายตามท้องน้ำหรือริมฝั่งน้ำ เมื่อโคลนและทรายกลายเป็นหินเนื่องจากมีแรงอัดและมีสารเชื่อม ซากไดโนเสาร์จะฝังตัวเป็นส่วนหนึ่งของหิน เมื่อวันเวลาผ่านไปหลายล้านปี หินบริเวณนั้นมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านธรณีวิทยา เช่น การยกตัวของพื้นทวีปหรือการกัดกร่อนพังทลาย ชิ้นส่วนซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์เหล่านั้นจะโผล่ให้เห็นและมีการขุดค้นต่อมา
ในช่วงเวลาที่เคยมีไดโนเสาร์อยู่ ชั้นหินตะกอนเหล่านี้จากการสำรวจทางธรณีวิทยาในประเทศไทย พบว่า เกิดแพร่กระจายอยู่ทั่วไปในบริเวณที่ราบสูงโคราช และพบอีกหลายแห่งบริเวณภาคเหนือ และภาคใต้ของประเทศ ชั้นหินประกอบด้วยหินดินดาน หินทรายแป้ง หินทราย และหินกรวดมน ในตอนบนของหินชุดนี้มีชั้นของเกลือหินและยิปซัม และจากลักษณะของหินตะกอนที่ปรากฏมักมีสีแดงเกือบทั้งหมด ทำให้เรียกหินกลุ่มนี้ว่า ชั้นหินตะกอนแดง ซึ่งเรารู้จักกันในชื่อกลุ่มหินโคราช
กลุ่มหินโคราชเป็นชั้นหินตะกอนที่มีต้นกำเนิดบนแผ่นดินยุคไดโนเสาร์ครองโลก
ได้มีรายงานการสำรวจโดยนักธรณีวิทยา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1923) ถึงปัจจุบัน พบว่า ชั้นตะกอนมีความหนาทั้งสิ้นกว่า 4,000 เมตร ตะกอนเหล่านี้ส่วนใหญ่เกิดจากการสะสมตัวในสภาพแวดล้อมที่มีออกซิเจนหรือเกิดบนแผ่นดินเหนือระดับน้ำทะเล เช่น ตามแม่น้ำ ลำธาร ทะเลสาบ และปากแม่น้ำ ในบริเวณที่มีภูมิอากาศค่อนข้างแห้งแล้ง มีรายงานการวิจัยซากดึกดำบรรพ์หลายฉบับ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นซากดึกดำบรรพ์ของหอยน้ำจืด พืช ฟันของสัตว์เลื้อยคลาน และเศษกระดูกอีกเล็กน้อย ซึ่งให้อายุระหว่างยุคไทรแอสซิกตอนปลาย จูแรสซิก และครีเทเชียส

       หมวดหินในกลุ่มหินโคราช
        แบ่งออกเป็น 7 หมวดหิน ในช่วงเวลาตั้งแต่ยุคไทรแอสซิกช่วงปลาย (220 ล้านปีก่อน) ถึง
ครีเทเชียสช่วงต้น (100 ล้านปีก่อน)

หมวดหินอายุฟอสซิลที่พบ
โคกกรวดครีเทเชียสช่วงต้น
(ประมาณ 100 ล้านปี)
ไดโนเสาร์ปากนกแก้ว ซิตตะโกซอรัส ไดโนเสาร์อิกัวโนดอน ปลาฉลามไฮโบดอนต์ ไทยโอดัส
ภูพานครีเทเชียสช่วงต้น
(ประมาณ 120 ล้านปี)
รอยเท้าไดโนเสาร์เทอโรพอด
เสาขัวครีเทเชียสช่วงต้น
(ประมาณ 130 ล้านปี)
ไดโนเสาร์ภูเวียงโกซอรัส สยามโมไทรันนัส สยามโมซอรัส กินรีมีมัส คอมพ์ซอกนาธัส
พระวิหารครีเทเชียสช่วงต้น
(ประมาณ 140 ล้านปี)
รอยเท้าไดโนเสาร์เทอโรพอด
ภูกระดึงจูแรสซิกช่วงปลาย
(ประมาณ 150 ล้านปี)
ไดโนเสาร์ซอโรพอด คาร์โนซอร์ ฮิปซิโลโฟดอน สเตโกซอร์
น้ำพองไทรแอสซิกช่วงปลาย (ประมาณ 210 ล้านปี)ไดโนเสาร์ซอโรพอด อิสานโนซอรัส และโปรซอโรพอด
ห้วยหินลาดไทรแอสซิกช่วงปลาย (ประมาณ 220 ล้านปี)เต่าโบราณโปรเกโนเชริส สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกไซโคลโตซอรัส ปลามีปอด และไฟโตซอร์

       ซากดึกดำบรรพ์ที่พบในกลุ่มหินโคราช
       การกระจายตัวของกลุ่มหินโคราช มีการกระจายตัวคลุมพื้นที่กว้างขวางมาก ประมาณ 1 ใน 3 ของพื้นที่ประเทศไทย โดยโผล่ให้เห็นชัดและครอบคลุมพื้นที่มากที่สุดบริเวณภาคตะวันออกเฉียง เหนือหรือที่ราบสูงโคราช ซึ่งเป็นบริเวณพื้นที่กว้างใหญ่ มีสภาพแวดล้อมเหมาะสมและมีบริเวณที่มีหินโผล่มากกว่าในที่อื่น ๆ ทำให้เราพบซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์และสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่น ๆ ในบริเวณภาคอีสานมากมายหลายแห่ง โดยเฉพาะตามภูต่าง ๆ เช่น ภูเวียง ภูพาน ภูหลวง เป็นต้น โดยในกลุ่มหินโคราช หมวดหินเสาขัวพบซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์และสัตว์มีกระดูกสันหลังหลายชนิดมากที่สุด เนื่องจากสภาพแวดล้อมบรรพกาลเป็นแบบที่ราบลุ่มและหนองบึง ส่วนที่พบมากรองลงมา คือ หมวดหินโคกกรวด

ภาพแสดงซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีกระดูกสันหลังและชนิดต่างๆ ของไดโนเสาร์ที่พบในภาคอีสาน ในกลุ่มหินโคราชเริ่มจากอายุเก่า(ล่าง)ไปหาอายุใหม่(บน)       ไดโนเสาร์ในภาคอีสาน
        ภาคอีสานของไทยโดดเด่นในเรื่องของซากดึกดำบรรพ์สัตว์เลื้อยคลาน โดยเฉพาะไดโนเสาร์ในมหายุคมีโซโซอิก ทั้งนี้เพราะพื้นที่เกือบทั้งหมดรองรับด้วยหินตะกอนในมหายุค มีโซโซอิก ที่เรียกว่า กลุ่มหินโคราช ซึ่งในมหายุคดังกล่าวเป็นดินหรือหินตะกอนบนแผ่นดินที่รองรับหรือฝังซากของสัตว์ที่ตายแล้ว ต่อมากลายสภาพเป็นหิน และที่โผล่ให้เห็นในปัจจุบันเนื่องจากการผุพังสลายตัวของหิน
แหล่งไดโนเสาร์ในภาคอีสานที่พบซากโครงกระดูกไดโนเสาร์ค่อนข้างสมบูรณ์ คือ แหล่งจังหวัดขอนแก่น (อุทยานแห่งชาติภูเวียง อ.ภูเวียง) และจังหวัดกาฬสินธุ์ (อ.สหัสขันธ์) ส่วนจังหวัดอื่นๆในขณะนี้ยังพบซากที่ไม่ค่อยสมบูรณ์ หรือพบเฉพาะรอยเท้า ฟัน และชิ้นส่วนกระดูก เช่น จังหวัดอุดรธานี สกลนคร มุกดาหาร ชัยภูมิ นครราชสีมา และปราจีนบุรีในภาคกลาง (ใกล้เขตแดน จ.นครราชสีมา)
แอ่งดินโคราชหรือนครราชสีมา เป็นส่วนหนึ่งของแผ่นดินอีสาน มีโอกาสพบประเภทปู่ไดโนเสาร์ได้ เช่นเดียวกับจังหวัดชัยภูมิและขอนแก่นที่อยู่ติดต่อทางด้านเหนือ เพราะทางด้านใต้ใกล้ชายแดนของจังหวัด (ในเขตจังหวัดปราจีนบุรี) ได้พบรอยเท้าไดโนเสาร์เทอโรพอดส์ อายุถึง 140 ล้านปีก่อน รวมทั้งรอยเท้าของฝูงไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดเล็กที่อาจเป็นพวก ออร์นิโธพอดส์
พ.ศ. 2525 คณาจารย์โปรแกรมวิชาภูมิศาสตร์ สถาบันราชภัฏนครราชสีมา ได้สำรวจทางภูมิศาสตร์กายภาพและธรณีวิทยาภาคสนามได้พบซากฟันและกระดูกหลายชิ้นจากบ่อระเบิดหินในเขตตำบลโคกกรวด อำเภอเมืองนครราชสีมา ซึ่งต่อมาได้รับการอนุเคราะห์ตรวจสอบโดย ศาสตราจารย์ จอง จาคส์ เจเจร์ ผู้เชี่ยวชาญซากดึกดำบรรพ์จากประเทศฝรั่งเศส (Jaeger, 1999. ปรึกษาส่วนตัว) ได้ข้อมูลว่าเป็นฟันจระเข้โบราณและกระดูกไดโนเสาร์ แต่ยังไม่ทราบชนิด เพราะยังไม่พบฟันหรือกระดูกชิ้นสำคัญ
พ.ศ. 2542 นายวิทยา นิ่มงาม ขณะนั้นเป็นปศุสัตว์ อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ได้พบฟันและกระดูกไดโนเสาร์ในหินกรวดมนปนปูนที่ชาวบ้านบ้านโป่งแมลงวัน ตำบลโคกกรวด ทำการระเบิดและตีด้วยค้อนปอนด์ เพื่อนำไปส่งขายเป็นวัสดุหินก่อสร้าง โดยจุดที่พบเป็นไร่ข้าวโพด แต่บางจุดเป็นป่าไม้ หินในพื้นที่เป็นหินมนใหญ่พวกหินกรวดมนปนปูนปรากฏอยู่ตามผิวดิน หรือ เป็นชั้นหินอยู่ใต้ดินระดับตื้น ตลอดระยะเวลาเกือบ 2 ปีที่นายวิทยา ได้ติดต่อกับชาวบ้านกลุ่มตีหิน ได้รวบรวมฟันไดโนเสาร์ทั้งประเภทกินเนื้อ กินพืช และซากกระดูกต่าง ๆ ไว้เป็นจำนวนมาก รวมทั้งซากชิ้นส่วนของสัตว์โบราณพวกฟันปลาฉลามน้ำจืดไฮโบดอนต์ เกล็ดปลาเลปิโดเทส กระดูกหัวปลาซีลาแคนต์ เต่า ตะพาบน้ำ จระเข้ พันธุ์ต่าง ๆ
พ.ศ. 2544 สถาบันราชภัฏนครราชสีมา โดยโปรแกรมวิชาภูมิศาสตร์ ได้นำเอาซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ และสัตว์มีกระดูกสันหลังต่างๆ มารวบรวมไว้ที่สถาบันราชภัฏ เช่น ฟันไดโนเสาร์ เศษกระดูกแตกหัก ฟันปลาฉลามน้ำจืดไฮโบดอนต์ สกุลเฮตเตอรอปทิโคดัส และสกุลไทยโอดัส ฟันจระเข้ เกล็ดปลาเลปิโดเทส ชิ้นส่วนกระดูกเต่าและตะพาบน้ำ กระดูกหัวและครีบปลาซีลาแคนต์ โดยทั้งหมดได้มาจาก 2 จุด คือ ที่บ้านโป่งดินสอ และบ้านโป่งแมลงวัน ต.โคกกรวด อ.เมือง จ.นครราชสีมา ตามพิกัดตำแหน่งยูทีเอ็มที่แสดงในแผนที่ (รูปที่ 3) ซึ่งปัจจุบัน เขตบ้านโป่งดินสอซึ่งเคยเป็นแหล่งที่พบซากไดโนเสาร์อิกัวโนดอน ได้กลายสภาพเป็นไร่ข้าวโพด และบ่อระเบิดหิน

พิกัดยูทีเอ็มของแหล่งไดโนเสาร์บ้านโป่งดินสอ 47 P RS 22174487 บ้านโป่งแมลงวัน
47 P RS 21444572 และบ้านสะพานหิน 47 P RS 23664570

แหล่งไดโนเสาร์โคราช : บ้านโป่งดินสอ บ้านโป่งแมลงวัน ตำบลโคกกรวด และ บ้านสะพานหิน ตำบลสุรนารี อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

แหล่งที่พบซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์อิกัวโนดอน ในเขตบ้านโป่งดินสอ ซึ่งปัจจุบันได้กลายสภาพเป็นบ่อระเบิดหิน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น